หากกล่าวถึงชีวิตที่สืบทอดกันมาช้านาน ผู้ใหญ่ประสงค์ ผู้นำชุมชนบ้านไร่กร่าง จังหวัดเพชรบุรี อาจไม่สามารถให้คำตอบที่แท้จริงได้ ว่าวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับตาลโตนดหรือทำตาลดำเนินมาได้อย่างไรได้ชัดเจน แต่สิ่งหนึ่งที่จดจำชัดเจนดี คือ คุณพ่อคุณแม่ของผู้ใหญ่และครอบครัวอื่นๆ ในบ้านไร่กร่างล้วนแต่มีวิถีชีวิตอยู่กับตาลทั้งสิ้น ทั้งนำมาทำอาหารคาวหวาน รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้ที่นำทุกส่วนของตาล มาทำเป็นเครื่องใช้ไม้สอยมากมาย
.
เดิมทีนั้นการทำขนมของชาวบ้านไร่กร่าง ได้นำตาลมาทำขนมโบราณ เช่น ขนมปลากริม หรือ บัวลอย หรือ ท็อฟฟี่พื้นบ้านที่เรียกว่าขนมไข่จิ้งหรีดเคล้ากับข้าวสวยก็มีความอร่อยไม่แพ้กัน แต่ด้วยโลกที่เปลี่ยนไปและมีขนมขบเคี้ยวมากมายเข้ามาทำให้เด็กๆ ในชุมชนมองว่าขนมที่กล่าวมาข้างต้นนั้นดูไม่ทันสมัย นั่นทำให้เกิดจุดเปลี่ยนในการผลิตขนมขบเคี้ยวพิ้นบ้านอย่างทองม้วนตาลโตนด
.
การริเริ่มทำขนมทองม้วนตาลโตนด มาจากการที่ในชุมชน อยากให้เด็กๆในชุมชน ได้ทานขนมไทยที่มีความกรุบกรอบแบบขนมสมัยใหม่ จึงได้คิดค้นสูตรการทำทองม้วนด้วยตาลโตนด เพราะท้องม้วนตาลโตนดจะมีกลิ่นหอมกว่าการใช้น้ำตาลธรรมดา ผู้ใหญ่บอกกับเราว่า เมื่อได้กัดเข้าไปคำแรก สิ่งที่จะสัมผัสได้คือกินหอมละมุนและเนื้อสัมผัสที่เรียกได้ว่าละลายในปากเลยทีเดียว
.
สำหรับกลุ่มธุรกิจอาหารใดที่สนใจขนมทองม้วนที่มีความแตกต่างจากทองม้วนทั่วไปตามท้องตลาด สามารถสั่งซื้อกับ HIVE Market ได้เร็วๆนี้
ไม่ว่าจะเป็นตัวตาลโตนด หรือน้ำตาล สามารถนำไปทำผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง ทำไมถึงมาทำทองม้วนตาลโตนด
เนื่องด้วยทองม้วนทั่วๆ ไป เขาจะใช้น้ำตาลทราย แต่ของชุมชนบ้านไร่กร่าง เรายึดหลักโบราณก็การใช้ตาลแท้ๆ ถึงหน้าตาและสีสันของขนมจะเหมือนทั่วไป
แต่สำหรับรสชาติ ผู้ใหญ่ประสงค์อธิบายว่าสัมผัสแรกของทองม้วนตาลโตนด การรับรู้กลิ่น หอมจะมาเป็นอันดับแรก แม้ว่าจะแค่เปิดกระปุก ยังไม่ได้ทาน
แต่กลิ่นมันๆ หอมๆ มาโชยมา ส่วนคำแรกจะรู้สึกกรอบ แต่เวลาเราเคี้ยวไป ก็จะสัมผัสได้ถึงความเนียน พร้อมหวานแบบกลมกล่อม ไม่หวานเลี่ยน และสิ่งนี้แหละคือเสน่ห์ของขนมของหมู่บ้านเรา
ในส่วนของขนาดของตัวทองม้วน ที่หมู่บ้านไร่กร่างคิดค้นให้เป็นคำเล็กๆ ทุกคนสามารถหมดภายใน 1 คำ ซึ่งรูปแบบจะเป็นการพับ 3 มุม
เหมือนเกี๊ยว แต่ถึงกระนั้นทางชุมชนก็ยังคงมีการพัฒนารูปแบบ เพื่อตอบสนองที่ส่งผู้บริโภคมองหาอยู่ตลอดเวลา โดยที่ยังคงไว้ซึ่งการอนุรักษ์รสชาติดั้งเดิม
แต่เริ่มเดิมทีหมู่บ้านไร่กร่าง เริ่มสานต่อกรรมวิธีการทำตาลโตนดด้วยใจที่อยากจะอนุรักษ์ตาลโตนดเอาไว้ ซึ่งอันดับแรกได้มีการก่อตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้
ให้กับเยาวชนในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง แล้วค่อยๆขยายไปยังระดับอำเภอ แล้วก็จังหวัด “อย่างน้อยเราก็ได้เห็นเด็กรุ่นหลังและคนในจังหวัดได้มีโอกาสรู้จัก
ได้สัมผัสถึงคุณค่าและประโยชน์ ก่อนที่คนสืบทอดจะน้อยลงไปเรื่อยๆ” ผู้ใหญ่ประสงค์กล่าว
ในส่วนของประโยชน์ของตาลโตนดนั้น ทั้งตาลเพศผู้และเพศเมียก็ต่างให้ผลที่ต่างกัน อย่างตาลเพศเมีย หรือที่เราเรียกว่า ทลาย จะสามารถมาทำน้ำตาลได้
แต่ชาวบ้านจะไม่นิยมทำกัน เนื่องจากจะมีลูกอ่อน ส่วนมากจะใช้ส่วนหัวผลของลูกอ่อนปอกเปลือกด้านนอกออก ซอยมัน สามารถนำมาทำแกงหัวตาล
แต่ที่ชุมชนไร่กร่างจะเรียกว่า แกงหัวโตนด หรือจะทำเป็นยำหัวโตนดก็ได้เหมือนกัน
ส่วนการสังเกตว่าตาลแต่ละลูกนั้นเป็นเพศผู้หรือเพศเมีย ให้ดูจากเวลาที่แทงปลีตาลออกมา ถ้าออกมาแล้วเห็นเป็นปลีด้านเดียว แสดงว่าตาลเป็นเพศเมียแน่นอน
แต่หากแทงปลีออกมาเป็นช่อ ก็จะเป็นเพศผู้ ซึ่งในภาษากลางเรียกว่า กระโพง นั่นเอง
ด้วยความที่ขนมทองม้วนตาลโตนด ทางหมู่บ้านไร่กร่างจะทำตามฤดูกาล ซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องการอนุรักษ์ขนมพื้นบ้าน รวมถึงตัวน้ำตาลโตนดเองด้วย
หากพูดถึงประโยชน์ของตาลโตนดในการประกอบอาหารแล้วนั้น นอกจากขนมหวานอย่างขนมทองม้วนที่ได้เล่าไปข้างต้น อาหารคาวอย่างแกงหัวตาล
ยำหัวโตนด ยังเลื่องชื่อเป็นอย่างมาก หลายคนอาจเข้าใจว่าเป็นกับข้าว แต่แท้จริงแล้วนั้นมันคือ กับแกล้ม ที่ชาวบ้านทานร่วมกับสาโทประจำถิ่นมาแต่ช้านาน เรียกได้ว่าอยู่คู่กับชาวเพชรบุรีมาทุกยุคทุกสมัย
อย่างที่ทราบกันว่า กว่าจะออกมาเป็นน้ำตาลโตนดต้องอาศัยทักษะ เทคนิค และประสบการณ์มากมาย ทางชุมชนไร่กร่างจึงต้องการสานต่อเจตนารมณ์ ผ่านการส่งออกทองม้วนตาลโตนด
“อันที่จริงตาลโตนดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่มีสูตรตายตัว ไม่สามารถระบุเป็นตำราได้ เท่าที่จำได้คือชุดข้อมูลที่ถูกส่งต่อกันมาปากต่อปากว่าตาลนี้มันให้น้ำ
ซึ่งสามารถมาเคี่ยวให้เป็นน้ำตาลปี๊บได้ ส่วนวิธีการนั้น เราต้องไปจับ ไปสัมผัสเอง”
กรรมวิธีในการทำตาล ผู้ใหญ่ประสงค์เล่าว่า “ตาลจะมีเวลาของเขา หลังจากที่รมควันเตาใส่พยอมแล้วนั้น พยอมจะสามารถรักษาสภาพของน้ำตาล
ไม่ให้บูด ไม่ให้เสียในช่วงเวลาที่ 4 โมงเย็น ตลอดทั้งคืน เราจะไปเอาลงตอน 6 โมงเช้า คือตาลก่อน 10 โมงจะต้องจบกระบวนการแล้ว เพราะตาลจะบูด จะเสีย จะมีรสชาติเปรี้ยว”
นอกจากนี้ผู้ใหญ่ประสงค์ยังสอดแทรกความขบขันผ่านบทเพลงที่มีเนื้อร้องว่า “พยอมเป็นยารักษาสภาพน้ำตาล ตาลเพชรต้องร้าวรานเมื่อขาดพยอม” อีกด้วย
คิดว่า HIVE Market จะสามารถช่วยขยายตลาดให้กว้างขึ้นอย่างไรได้บ้าง?
การใช้ HIVE Market ในการส่งออกขนมทองม้วนตาลโตนด เปรียบเสมือนเหมือนตัวกลาง ที่จะคอยดูแลในการส่งมอบตลอดกระบวนการ โดยเฉพาะการจัดส่งที่ตัวขนมทองม้วนนั้น
จะสามารถคงไว้ซึ่งคุณภาพ หอม กรอบ อร่อย เพื่อที่ทุกคนจะได้สัมผัสกับตาลที่แท้จริง
สุดท้ายผู้ใหญ่ประสงค์ได้ฝากข้อความสั้นๆ ตอนหนึ่ง จากนิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่ไว้ให้คนรุ่นหลังอย่างเราทั้งหลายไว้ว่า
“…ทั่วประเทศเขตแคว้นแดนพริบพรี
เหมือนจะชี้ไปไม่พ้นแต่ต้นตาล
ที่พวกทำน้ำโตนดประโยชน์ทรัพย์
มีดสำหรับเหน็บข้างอย่างทหาร
พะองยาวก้าวตีนปีนทะยาน
กระบอกตาลแขวนก้นคนละพวง…”
และนี่ก็คือ ที่มาของตาลโตนดเมืองเพชรนั่นเอง